ระบบสมาชิก |
|
สมาชิกทั้งหมด 102 คน |
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน |
|
|
 |
 |
 |
|
|
|
 |  |  |
|
|

 |
|
 |
|
งานวิจัยการศึกษา |
|
เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยที่เน้นกระบวนการคิด อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เจ้าของผลงาน : นางมณีจันทร์ ปันเป็ง
ศุกร์ ที่ 5 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2563
เข้าชม : 2204 จำนวนดาวน์โหลด : 173 ครั้ง
|
|
|
บทคัดย่อ :
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนา รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยที่เน้นกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยที่เน้นกระบวนการคิด อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยที่เน้นกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยที่เน้นกระบวนการคิด อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยกำหนดรูปแบบการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (OneGroup Pretest Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบัวขาวที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 41 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบ การเรียนการสอนภาษาไทย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบ ค่าที (t-test) (Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยที่เน้นกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผ่านการตรวจสอบหาประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญและวิจัย เชิงปฏิบัติการ โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนรู้ 8 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการฟัง 2) ขั้นการวิเคราะห์สถานการณ์ 3) ขั้นการพิจารณาระบุประเด็น 4) ขั้นการตั้งสมมติฐาน 5) ขั้นการรวบรวมข้อมูลหลักฐาน 6) ขั้นการเชื่อมโยงเหตุผล 7) ขั้นการประยุกต์และนำไปใช้ 8) ขั้นการประเมินผล
2. ประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยที่เน้นกระบวนการคิด อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 84.24 /87.19 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยที่เน้นกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
|
|
ดาวน์โหลด ( บทคัดย่อ ) |
|
|
 |
|
 |
กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<<
1
>>
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ruamchart@hotmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป
|
|
|
 |  |  |
|