ระบบสมาชิก |
|
สมาชิกทั้งหมด 109 คน |
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน |
|
|
 |
 |
 |
|
|
|
 |  |  |
|
|

 |
|
 |
|
งานวิจัยการศึกษา |
|
เรื่อง : การพัฒนาชุดกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ โดยเน้นแนวคิด STEM Education เพื่อพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร
เจ้าของผลงาน : นางทิวาพร แก้วคำสอน
พุธ ที่ 13 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2563
เข้าชม : 3541 จำนวนดาวน์โหลด : 204 ครั้ง
|
|
|
บทคัดย่อ :
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็น สภาพปัจจุบันและปัญหาในการพัฒนาจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ โดยเน้นแนวคิด STEM Education เพื่อพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ โดยเน้นแนวคิด STEM Education เพื่อพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ ตามประเด็นต่อไปนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3.2) เพื่อศึกษาระดับความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน 3.3) เพื่อศึกษาความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวนนักเรียน 41 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 16 แผน ชุดกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ จำนวน 6 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ และแบบประเมินผลงานโครงงานคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ , S.D. ร้อยละ และ t-test (Dependent Sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า การจัดการเรียนรู้ยังมุ่งเน้นความคิดรวบยอดในเนื้อหาบทเรียน ขาดโอกาสในการคิดสังเคราะห์เพื่อเชื่อมโยงและสร้างความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งการคิดหาคำตอบด้วยวิธีการที่หลากหลายตามแนวคิดใหม่ ที่แตกต่างน่าสนใจ ผู้เรียนยังขาดความมั่นใจในตนเองและขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในชั้นเรียนที่เชื่อมโยงให้มีแรงจูงใจ และความพร้อมนำไปสู่การคิดสร้างสรรค์ในการเรียนคณิตศาสตร์ให้บรรลุผล ส่วนมากครูไม่ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา และด้านการจัดการเรียนการสอนโครงงานคณิตศาสตร์ มีปัญหานักเรียนทำโครงงานยังไม่ถูก ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ส่วนมากจะค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต จึงมีความต้องการใช้ชุดกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
2. ชุดกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ โดยเน้นแนวคิด STEM Education เพื่อพัฒนาการคิด สร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพดังนี้ ชุดที่ 1 มีประสิทธิภาพ 85.26/83.41 ชุดที่ 2 มีประสิทธิภาพ 85.17/83.9 ชุดที่ 3 มีประสิทธิภาพ 84.48/88.04 ชุดที่ 4 มีประสิทธิภาพ 84.73/85.85 ชุดที่ 5 มีประสิทธิภาพ 84.68/83.90 และ ชุดที่ 6 มีประสิทธิภาพ 86.85/87.56
3. ผลการใช้ชุดกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ โดยเน้นแนวคิด STEM Education เพื่อพัฒนา การคิดสร้างสรรค์ ตามประเด็นต่อไปนี้
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยชุดกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ โดยเน้นแนวคิด STEM Education สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ โดยเน้นแนวคิด STEM Education เพื่อพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 ความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ โดยเน้นแนวคิด STEM Education พบว่า คุณภาพผลงานของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 480.40 คะแนน จากคะแนนเต็ม 500 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 80.06 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม เมื่อพิจารณารายกลุ่ม อยู่ในระดับดีเยี่ยม 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 2 และ 5 อยู่ในระดับดี 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1, 3, 4, และ 6
|
|
ดาวน์โหลด ( บทคัดย่อ ) |
|
|
 |
|
 |
กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<<
1
>>
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ruamchart@hotmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป
|
|
|
 |  |  |
|