ระบบสมาชิก |
|
สมาชิกทั้งหมด 109 คน |
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน |
|
|
 |
 |
 |
|
|
|
 |  |  |
|
|

 |
|
 |
|
นวัตกรรมทางการศึกษา |
|
เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ URAIPAN MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
เจ้าของผลงาน : นางสาวอุไรพรรณ อุปนิ
พุธ ที่ 5 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563
เข้าชม : 2774 จำนวนดาวน์โหลด : 0 ครั้ง
|
|
|
บทคัดย่อ :
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ URAIPAN MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง Relish the Analytical Thinking 4) พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 5 เรื่อง Relish the Analytical Thinking 5) สำรวจความพึงพอใจของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง Relish the Analytical Thinking การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 /11 โรงเรียนบัวขาว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย
1) แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 3) แบบสำรวจความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง Relish the Analytical Thinking มีชื่อว่า URAIPAN MODEL มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้ ทักษะกระบวนการ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน และหลักการตอบสนอง ซึ่งหลักการเรียนการสอนมี 8 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นคิดเชิงวิพากษ์และวิเคราะห์ (Critical and Analyzing: C) 2) ขั้นเข้าใจภาษาในบริบทต่าง ๆ (Understanding language :U) 3) ขั้นสะท้อนความคิด (Reflecting on thinking :R) 4) ขั้นการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น (Active Learning :A) 5) ขั้นการสอบถาม/สำรวจ (Inquiring :I) 6) ขั้นจัดเตรียมงานเพื่อนำเสนอ (Prepare Task : P) 7) ขั้นนำไปใช้ (Apply :A) และ 8) ขั้นเรียนรู้ธรรมชาติการเรียนรู้ภาษาและประเมินผล (Natural Method : N)
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.25/87.14 เมื่อเทียบ กับเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4. ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 87.14 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
5. นักเรียนมีความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ยังพบว่า นักเรียนสามารถสร้างชิ้นงาน โดยใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์บนพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจด้วยตนเองส่งผลให้ชิ้นงานมีคุณภาพ และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการเรียนรายวิชาอื่นได้
|
|
|
|
 |
|
 |
กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<<
1
>>
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ruamchart@hotmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป
|
|
|
 |  |  |
|